Knowledge-Management-1

การนำเสนอนวัตกรรม / แนวปฏิบัติที่ดีของสถาบัน ด้านการประกันคุณภาพการศึกษา
ร่วมกับมหาวิทยาลัยเครือข่ายเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในเขตภาคเหนือตอนล่าง

คณะ/หน่วยงาน
โปรแกรมวิชาการตลาด คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
ผู้ที่เกี่ยวข้อง/ผู้รับผิดชอบหลัก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เพชรา บุดสีทา
โทรศัพท์ 0 81172 5031 โทรสาร 0 5570 6511 E-mail address: apetchara@hotmail.com
  1. ชื่อผลงาน
    การบูรณาการการเรียนการสอน การบริการวิชาการและการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมรายวิชาการวิจัยตลาด
  2. ที่มาและความสาคัญของผลงาน(พอสังเขป)
    การบริการวิชาการและการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมเป็นสิ่งจาเป็นสาหรับการจัดการศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา เพราะการบริการวิชาการและการทานุบารุงศิลปวัฒนธรรมดังกล่าวเป็นสิ่งที่ระบุอยู่ภายใต้กฎกระทรวงว่าด้วย ระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา โดยพิจารณาจากระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาของคณะวิชา และสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาโดยคำนึงถึงองค์ประกอบคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษา องค์ประกอบที่ 5 การบริการวิชาการแก่สังคม (สมศ.) และ องค์ประกอบที่ 6 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม (สกอ.) เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญ ดังนั้น การบริการวิชาการและการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม จึงเป็นหน้าที่จาเป็นที่สถาบันอุดมศึกษาจะต้องทำอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทั้งนี้ผู้ที่จะปฏิบัติการบริการวิชาการและการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมคือคณาจารย์ที่มีภารกิจในการจัดการเรียนการสอน ดังนั้น การบูรณาการการเรียนการสอน การบริการวิชาการและการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมรายวิชาการวิจัยตลาด ซึ่งนอกเหนือจากการได้สอนทฤษฎีแก่นักศึกษา ผู้สอนจึงได้ออกแบบการจัดการเรียนการสอนให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการออกไปบริการวิชาการแก่หน่วยงานที่ร้องขอ และมีส่วนในการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของจังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งสอดคล้องกับคุณลักษณะบัณฑิตคณะวิทยาการจัดการคือ เป็นคนดี มีคุณธรรมในสังคม ยึดมั่นในหลักศาสนาและประชาธิปไตยตลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมินผลได้ และมีความรับผิดชอบ อดทน ซื่อสัตย์ เสียสละ มีจริยธรรม จรรยาบรรณในวิชาชีพ และ
    ผู้สอนได้รับการแต่งตั้งจากจังหวัดกำแพงเพชร เรื่อง การจัดงานประเพณี “สารทไทยกล้วยไข่เมืองกำแพง ประจำปี 2555” โดยได้รับคาสั่งแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการติดตามและประเมินผลการจัดงานครั้งนี้ ร่วมกับหน่วยงานสถิติจังหวัดกำแพงเพชรซึ่งผู้สอนเป็นที่ปรึกษาทางวิชาการอยู่ โดยการบริการวิชาการครั้งนี้ จังหวัดกำแพงเพชราสามารถนำผลการประเมินไปปรับปรุงในการจัดงานประเพณี “สารทไทยกล้วยไข่เมืองกำแพง”ในปีถัดไป
  3. วัตถุประสงค์และเป้าหมายของการผลิตผลงาน
    1. เพื่อให้นักศึกษาได้ตระหนักถึงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมผ่านงานประเพณีสารทไทย กล้วยไข่เมืองกำแพง
    2. เพื่อให้นักศึกษาสามารถนาความรู้ทางทฤษฎีการวิจัยตลาดมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติการวิจัยภาคสนาม
    3. เพื่อศึกษาผลของการบูรณาการองค์ความรู้กับการบริการวิชาการและการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
  4. ประโยชน์ที่ได้รับ
    1. นักศึกษามีความรู้ด้านกระบวนการวิจัยและสามารถนาความรู้การวิจัยมาประยุกต์ใช้ในภาคสนาม
    2. นักศึกษามีความรู้เกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมไทยและวัฒนธรรมท้องถิ่น และตระหนักถึงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมไทยและวัฒนธรรมท้องถิ่น
    3. นักศึกษาสามารถให้บริการวิชาการบนพื้นฐานความรู้ที่ได้ศึกษามา และตระหนักถึงการให้บริการวิชาการบนพื้นฐานความรู้ที่ได้ศึกษามากับการสร้างสรรค์ประโยชน์เพื่อสังคม
    4. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดงานประเพณีสารทไทยกล้วยไข่เมืองกำแพง สามารถนาผลการประเมินการจัดงานไปใช้ในการปรับปรุงการจัดงานประเพณีสารทไทยกล้วยไข่เมืองกำแพง ในครั้งต่อไป
  5. ขั้นตอนการปฏิบัติ
    1. ประชุมก่อนดำเนินการร่วมกับคณะกรรมการจัดงานประเพณีสารทไทยกล้วยไข่เมืองกำแพง (Plan)
    2. ประชุมนักศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (สถิติจังหวัดกำแพงเพชร) ก่อนดำเนินการเพื่อกำหนดประเด็นการประเมินคณะกรรมการจัดงานประเพณีสารทไทยกล้วยไข่เมืองกำแพง (Plan)
    3. วางแผนและแบ่งฝ่ายดำเนินงาน (Plan)
    4. จัดการเรียนการสอนความรู้เกี่ยวกับทฤษฎี ขั้นตอนและวิธีการวิจัย (D0)
    5. ติดต่อประสานงานกับฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการจัดงานประเพณีสารทไทยกล้วยไข่เมืองกำแพง (D0) เพื่อกำหนดประเด็นการประเมิน