Knowledge-Management-1

องค์ความรู้เรื่อง การใช้งาน Moodle เป็นสื่อการเรียนการสอนออนไลน์ (e-Learning)

โดย อาจารย์พิมกาญดา จันดาหัวดง
สาขาวิชาการจัดการทั่วไป

 

จากการเข้าร่วมกิจกรรม การใช้งาน Moodle เป็นสื่อการเรียนการสอนออนไลน์ รายวิชาองค์การและการจัดการ สามารถสรุปองค์ความรู้ได้ได้ดังต่อไปนี้
    1.  Moodle เป็นซอฟต์แวร์แบบเปิดเผยรหัส (Open Source) ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ฟรี สามารถติดตั้งและใช้งานร่วมกันได้แบบออนไลน์ มีความเสถียรภาพ และปรับแต่งการทำงานให้อยู่ในรูปแบบที่เหมาะสมกับการเรียนการสอนจริงภายได้
    2. อาจารย์ สามารถสร้างรายวิชาที่ต้องการมีการเรียนการสอนได้ทุกวิชา ในทุกภาคการศึกษา ซึ่งกำหนด ให้มีจำนวน 16 สัปดาห์เป็นค่าเริ่มต้นตามการเรียนการสอนจริงของมหาวิทยาลัย หากรายวิชาใดต้องการปรับเปลี่ยนจำนวนสัปดาห์หรือมุมมองการแสดงผลสัปดาห์ สามารถปรับได้โดยแจ้งผู้ดูแลระบบ กรณีนี้ทำให้อาจารย์สามารถสื่อสารกับนักศึกษาเกี่ยวกับการนัดหมาย เอกสารประกอบการสอน แบบทดสอบต่างๆรวมถึงการส่งงานได้ตลอดตั้งแต่สัปดาห์แรกของการเปิดภาคเรียนเป็นต้นไป (https://moodle.org/)ในแต่ละสัปดาห์ อาจารย์จะเพิ่มข้อมูลเกี่ยวกับการเรียนการสอนได้ดังต่อไปนี้
      • เพิ่มบทเรียน : ไฟล์เอกสารประกอบการสอน ที่รองรับหลากหลายนามสกุล เช่น .docx .pptx .xlsx .pdf .jpg YouTube หรือ Hyperlinks ซึ่งเป็นการให้แหล่งข้อมูลศึกษาเพิ่มเติมจากภายนอกได้ เป็นต้น
      • สร้างแบบทดสอบ: สามารถสร้างได้ทั้งแบบทดสอบก่อนเรียน แบบทดสอบหลังเรียน หรือสามารถสร้างข้อสอบให้นักศึกษาสามารถเข้าไปทำข้อสอบได้ อาจารย์สามารถสร้างแบบทดสอบได้หลากหลาย เช่น ปรนัย อัตินัย ตัวเลือกถูกผิด จับคู่ เป็นตัน การให้คะแนนแบบทดสอบรองรับการตั้งค่าการให้คะแนนที่เหมาะสมแก่อาจารย์
      • เพิ่ม การมอบหมายงาน: อาจารย์สามารถกำหนดโจทย์งานสำหรับเป็นการบ้าน/ รายงานของนักศึกษา โดยเลือกให้นักศึกษาส่งงานได้ทั้งแบบส่งไฟล์ผ่านหน้าจอของ Moodle หรือมีการตอบแบบ Inline คือการพิมพ์ตอบในข้อคำถามนั้นๆของนักศึกษารายบุคคล ทั้งสองกรณีอาจารย์จะ Login เข้าสู่ระบบเพื่อไปตรวจและให้คะแนนได้รายบุคคล และนักศึกษาก็ไม่ สามารถคัดลอกงานของผู้อื่นได้
      • การปรับแต่งอื่นๆของหน้าเพจแต่ละสัปดาห์สามารถปรับแต่งได้ด้วยการแทรกภาพ ข้อความตัวอักษาที่มีสีสัน ขนาดที่แตกต่างกัน ได้หลากหลายวิธี (เนื่องจากหน้าฟอร์มเป็น HTML) เพื่อเป็นข้อความแจ้งเตือน เน้นย้ำ กับนักศึกษา
      • กำหนดให้นักศึกษา Login เข้าสู่ระบบมาเรียนออนไลน์ในรายวิชานั้นๆที่อาจารย์มีการสอน ซึ่งนักศึกษาจะพบหน้าจอที่แสดงเฉพาะรายวิชาที่ตนมีสิทธิ์เข้าเรียนรวมถึงพบข้อมูลการเรียนการสอนทั้งหมดที่อาจารย์กำหนดให้เข้ามาเรียน/ ใช้งาน/ ทำกิจกรรม
    3. เมื่อนักศึกษามีการทำแบบทดสอบ/ ทำรายงาน หรือ ทำกิจกรรมใดๆผู้สอนสามารถเข้าไปตรวจสอบ ให้คะแนน และเก็บข้อมูลไฟล์งานที่นักศึกษาส่งได้ คะแนนที่อาจารย์ให้จะเก็บเป็นฐานข้อมูลในระบบ สามารถจัดเรียง เรียกดู และนำไปประมวลผลคะแนนในส่วนอื่นได้ต่อไป
    4. อาจารย์สามารถเรียกดูรายงานสรุปคะแนนของแบบทดสอบได้รายบุคคล โดยระบบจะคำนวณค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานให้อัติโนมัติในทุกชุดแบบทดสอบ จัดเรียงมุมมองดูคะแนนของนักศึกษาที่มากที่สุดน้อยที่สุดได้ สามารถแสดงข้อที่นักศึกษามีการตอบถูกมากที่สุด หรือผิดมากที่สุดได้ ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ดูความยากง่ายของข้อสอบ รวมถึงวิเคราะห์ศักยภาพผู้เรียนได้อีกด้วย
ทั้งนี้ Moodle เป็นระบบที่มีความซับซ้อนและยังสามารถปรับต่างการทำงานของระบบได้อีกมากนอกเหนือจากที่ได้สรุปข้างต้น
สรุปขั้นตอนการใช้งาน Moodle เป็นสื่อการเรียนการสอนออนไลน์ คณะวิทยาการจัดการ
  1. แจ้งความจำนงเข้าใช้ระบบ Moodle ในฐานผู้สอนต่อผู้ดูแลระบบ เพื่อให้ผู้ดูแลระบบสร้างชื่อผู้ใช้ของอาจารย์ในสิทธิ์ผู้สอน
  2. นำรายชื่อนักศึกษาในรูปแบบไฟล์ .csv ให้กับผู้ดูแลระบบ เพื่อให้ผู้ดูแลระบบสร้างชื่อผู้ใช้ของนักศึกษาในสิทธิ์ผู้เรียน
  3. เมื่อได้รับชื่อผู้ใช้ ให้อาจารย์และนักศึกษา Login ทดสอบระบบแล้วสามารถเปลี่ยนรหัสผ่าน และแก้ไขข้อมูลส่วนตัวได้ทันที
  4. เริ่มต้นใช้งานระบบได้ http://management.kpru.ac.th/ELearning/